เว็บไซต์ขององค์การบริหารส่วนตำบลร่วมจิต มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น กรุณาอ่าน นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy)
ให้ความยินยอม
องค์การบริหารส่วนตำบลร่วมจิต
อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
องค์การบริหารส่วนตำบลร่วมจิต
apps
เมนูหลัก
เมนูทั้งหมด
เมนูหลัก (Main)
insert_drive_file
ข่าวประชาสัมพันธ์
folder
ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
chat_bubble
ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา
folder
ประกาศราคากลาง
cast
ระบบการจัดซื้อจัดจ้าง egp
ส่วนราชการ
group
คณะผู้บริหาร
group
ฝ่ายสภา
group
หัวหน้าส่วนราชการ
group
สำนักปลัด
group
กองคลัง
group
กองช่าง
group
หน่วยตรวจสอบภายใน
ข้อมูลหน่วยงาน
check_circle
สถานที่ท่องเที่ยว
school
วิสัยทัศน์
insert_drive_file
ข้อมูลหน่วยงาน
folder_open
เว็บไซต์กรมส่งเสริม
ข้อมูลข่าวสาร
insert_drive_file
ข่าวประชาสัมพันธ์
chat_bubble
ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา
folder
รายงานผลการปฏิบัติงาน
folder
งบประมาณรายจ่ายประจำปี
folder
แผนการจัดซื้อจัดจ้างแผนการจัดหาพัสดุ
folder
ข้อมูลข่าวสารกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
spa
งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ (กองคลัง) อบต.ร่วมจิต
today
ส่วนราชการ
group
คณะผู้บริหาร
group
ฝ่ายสภา
group
หัวหน้าส่วนราชการ
group
สำนักปลัด
group
กองคลัง
group
กองช่าง
group
หน่วยตรวจสอบภายใน
info
ข้อมูลหน่วยงาน
check_circle
สถานที่ท่องเที่ยว
school
วิสัยทัศน์
insert_drive_file
ข้อมูลหน่วยงาน
folder_open
เว็บไซต์กรมส่งเสริม
forum
ข้อมูลข่าวสาร
insert_drive_file
ข่าวประชาสัมพันธ์
chat_bubble
ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา
folder
รายงานผลการปฏิบัติงาน
folder
งบประมาณรายจ่ายประจำปี
folder
แผนการจัดซื้อจัดจ้างแผนการจัดหาพัสดุ
folder
ข้อมูลข่าวสารกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
spa
งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ (กองคลัง) อบต.ร่วมจิต
call
ข้อมูลการติดต่อ
arrow_back_ios
กลับเมนูหลัก
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลร่วมจิต อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
spa
งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ (กองคลัง) อบต.ร่วมจิต
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ผู้เสียภาษี ผู้เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คือ เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรือผู้ครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นทรัพย์สินของรัฐ โดยจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือเป็นนิติบุคคลก็ได้ ถ้าใครเป็นเจ้าของหรือครอบครองที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอยู่ในวันที่ 1 มกราคม ของปีไหน ก็ให้เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีสำหรับปีนั้นไป ถ้าเจ้าของที่ดินและเจ้าของสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินนั้นเป็นคนละคนกัน ก็ให้เจ้าของที่ดินเสียภาษีเฉพาะส่วนของมูลค่าที่ดิน ส่วนเจ้าของสิ่งปลูกสร้างก็เสียภาษีเฉพาะส่วนของมูลค่าสิ่งปลูกสร้าง ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ต้องเสียภาษี ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง เช่น บ้าน อาคาร จะต้องเสียภาษีโดยใช้มูลค่าทั้งหมดของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างเป็นฐานในการคำนวณภาษี โดยแยกตามรายการดังนี้ 1.) ที่ดิน-ใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน 2.) สิ่งปลูกสร้าง-ใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์สิ่งปลูกสร้าง 3.) สิ่งปลูกสร้างที่เป็นห้องชุด (คอนโด)-ใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเป็นผู้ประกาศราคาประเมินทุนทรัพย์ของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง อัตราภาษีที่จัดเก็บ และรายละเอียดอื่นที่จำเป็นในการจัดเก็บภาษีในแต่ละปี ณ สำนักงาน หรือที่ทำการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ของปีนั้น ซึ่งราคาทุนทรัพย์นี้จะเป็นราคาเดียวกับราคาประเมินทุนทรัพย์ของกรมที่ดิน แต่ถ้าไม่มีราคาประเมินทุนทรัพย์ จะมีกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการคำนวณมูลค่า ซึ่งยังขณะนี้ยังรอการประกาศอยู่ อนึ่ง ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะคิดภาษีเฉพาะที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเท่านั้น ไม่คิดจากทรัพย์สินอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นโรงงานก็นำเฉพาะที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาคำนวณภาษีโดยไม่รวมเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ต่างๆ วิธีคำนวณภาษี การคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะใช้คำนวณแบบขั้นบันไดตามมูลค่าของฐานภาษีแต่ละขั้นโดยใช้สูตรเบื้องต้น คือ มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง – มูลค่าของฐานภาษีที่ได้รับยกเว้น = มูลค่าของบานภาษี มูลค่าของฐานภาษี x อัตราภาษี = ค่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง อนึ่ง กรณีที่ดินหลายแปลงมีอาณาเขตติดต่อกันและเป็นของเจ้าของเดียวกัน ให้คำนวณมูลค่าที่ดินทั้งหมดรวมกันเป็นฐานภาษี การหักมูลค่าของบานภาษีที่ได้รับยกเว้น เป็นสิทธิประโยชน์เฉพาะบุคคลธรรมดาเท่านั้นซึ่งจะได้รับเฉพาะกรณีต่อไปนี้เท่านั้น 1.) ถ้าบุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมได้สิทธิหักมูลค่าฐานภาษีได้ 50 ล้านบาท 2.) ถ้าบุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในวันที่ 1 มกราคมของปีภาษีนั้น ได้สิทธิหักภาษีได้ 50 ล้านบาท 3.) บุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในวันที่ 1 มกราคมของปีภาษีนั้น ได้สิทธิหักมูลค่าฐานภาษีได้ 10 ล้านบาท วิธีเสียภาษี ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใช้วิธีประเมินภาษีโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ประเมินให้ และจะส่งแบบประเมินภาษีให้แก่ผู้เสียภาษีภายในเดือน กุมภาพันธ์ของแต่ละปี และผุ้เสียภาษีต้องชำระภาษีให้แล้วเสร็จภายใน 30 เมษายนของปีนั้น แบบประเมินภาษีจะประกอบด้วย 1.) รายการที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง 2.) ราคาประเมินทุนทรัพย์ 3.) อัตราภาษี 4.) จำนวนภาษีที่ต้องชำระ วันที่ชำระภาษีโดยปกติจะให้เอาตามวันที่พนักงานเก็บภาษีลงลายมือชื่อในใบเสร็จรับเงิน แต่ถ้าชำระโดยวิธีอื่น เช่น ชำระโดยผ่านทางธนาคารให้ถือว่าวันที่ธนาคารได้รับเงินค่าภาษีเป็นวันที่ชำระภาษี อัตราภาษี ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างกำหนดอัตราภาษีจำแนกตามประเภทการใช้ประโยชน์และตัวผู้เสียภาษี ทั้งนี้อัตราภาษีจะใช้คำนวณแบบขั้นบันไดตามมูลค่าของบานภาษีแต่ละขั้น อนึ่ง หากที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างมีการใช้ประโยชน์หลายประเภท ภาษีจะคำนวณตามสัดส่วนของการใช้ประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างแต่ละประเภท 1.) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ต้องเป็นการทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ และกิจการอื่นตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยร่วมกันประกาศกำหนด ซึ่งยังอยู่ระหว่างรอประกาศอีกครั้ง (ก) บุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม อัตราเพดาน 0.15% อัตราที่จัดเก็บ มูลค่า(ล้านบาท.) อัตรา(%) 0 - 75 0.01 75 - 100 0.03 100 - 500 0.05 500 - 1,000 0.07 1,000 ขึ้นไป 0.1 บุคคลธรรมดา ได้รับยกเว้น อปท. ละไม่เกิน 50 ล้านบาท ภาระภาษี มูลค่า(ล้านบาท) ค่าภาษี(บาท) 50 0 100 5,000 200 40,000 2.) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย อัตราเพดาน 0.3% บุคคลธรรมดา มูลค่า(ลบ.) บ้าน บ้าน + ที่ดิน บ้านหลังอื่นๆ (บ้านหลังหลัก) (บ้านหลังหลัก) 0 - 10 ยกเว้นภาษี 10 - 50 0.02 ยกเว้นภาษี 0.02 50 - 75 0.03 0.03 0.03 75 - 100 0.05 0.05 0.05 100 ขึ้นไป 0.1 0.1 0.1 ภาระภาษี มูลค่า(ล้านบาท.) บ้านหลังหลัก บ้านหลังอื่นๆ (ยกเว้น 50 ล้านบาท) 50 0 10,000 100 20,000 30,000 200 120,000 130,000 3.) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่น เช่น ใช้เชิงพาณิชย์ อัตราเพดาน 1.2 % อัตราที่จัดเก็บ มูลค่า(ล้านบาท.) อัตรา(%) 0 - 50 0.3 50 - 200 0.4 200 - 1,000 0.5 1,000 - 5,000 0.6 5,000 ขึ้นไป 0.7 ภาระภาษี มูลค่า(ล้านบาท) ค่าภาษี(บาท) 50 150,000 100 350,000 200 2,250,000 1,000 4,750,000 4.) ที่รกร้างว่างเปล่า อัตราเพดาน 1.2 % อัตราที่จัดเก็บ มูลค่า(ล้านบาท.) อัตรา(%) 0 - 50 0.3 50 - 200 0.4 200 - 1,000 0.5 1,000 - 5,000 0.6 5,000 ขึ้นไป 0.7 ภาระภาษี มูลค่า(ล้านบาท) ค่าภาษี(บาท) 50 150,000 100 350,000 200 2,250,000 1,000 4,750,000 เพิ่มอัตรา 0.3% ทุก 3 ปี แต่อัตราภาษีรวมไม่เกิน 3% บทลงโทษ เบี้ยปรับ !!! คือ ค่าปรับที่เกิดจากการชำระภาษีไม่ครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนด วึ่ง แบ่งกรณีได้ดังนี้ 1.) ไม่ได้ชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด และได้รับหนังสือแจ้งเตือน เสียเบี้ยปรับ 40% ของจำนวนภาษีค้างชำระ 2.) ไม่ได้ชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด แต่ชำระภาษีตามเวลาที่แจ้งไว้ตามหนังสือแจ้งไว้ตามหนังสือแจ้งเตือน เสียดอกเบี้ยปรับ 20% ของจำนวน ภาษีค้างชำระ 3.) ไม่ได้ชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด แต่ชำระภาษีก่อนจะได้รับหนังสือแจ้งเตือน เสียเบี้ยปรับ 10% ของจำนวนภาษีค้างชำระ ภาษีป้าย สิ่งที่ต้องปฏิบัติ - ถ้าท่านเป็นเจ้าของป้ายหรือป้ายอยู่ในความครอบครอง ของท่านให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ภายในเดือน มีนาคมของทุกปี ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงป้ายเดิมหรือติดตั้งป้ายใหม่หลังเดือนมีนาคม จะต้องยื่นแบบแสดงรายการ เสียภาษีป้ายภายในกำหนด 15 วัน - ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ชำระภาษีป้ายภายในกำหนด 15 วัน ที่ได้รับแจ้งการประเมิน - ผู้ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ภายในกำหนดให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 % ของเงินภาษีป้าย - ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายโดยไม่ถูกต้อง ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 % ของภาษีป้ายที่ประเมินเพิ่มเติม - ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือจงใจแจ้งความอันเป็นเท็จให้ถ้อยคำเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดง เพื่อพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีป้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 – 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อัตราภาษีป้าย - ป้ายที่มีอักษรไทยล้วนให้คิดอัตรา 3 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร - ป้ายที่มีอักษรไทยปนอักษรต่างประเทศและหรือปนกับภาพ หรือเครื่องหมายอื่น ให้คิดอัตรา 20 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร - ป้ายดังต่อไปนี้ให้คิดอัตรา 40 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร ก.ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยไม่ว่าจะมีภาพ หรือ เครื่องหมายใด ๆ หรือไม่ ข.ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ - ป้ายที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขตามมาตรา 14(3) ความว่าเปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้ายข้อความ ภาพหรือเครื่องหมายบางส่วน ในป้ายที่ได้เสียภาษีป้ายแล้วอันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น ให้คิดอัตรา ตาม (1) (2) หรือ (3) ป้ายแล้วและให้เสียเฉพาะจำนวนเงินภาษีที่เพิ่มขึ้น - ป้ายตาม (1) (2) (3) เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้วถ้ามีอัตราที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้าย 200 บาท ให้เสียป้ายละ 200 บาท ตารางการชำระภาษีประเภทต่างๆ
ตารางการชำระภาษีประเภทต่างๆ
งานบริการ งานประปา
รอปรับปรุง
รายงานการจัดเก็บค่าน้ำประปา