messager
 
องค์การบริหารส่วนตำบลร่วมจิต call ข้อมูลการติดต่อ
ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลร่วมจิต อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
spa แนะนำการชำระภาษี
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ผู้เสียภาษี ผู้เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คือ เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรือผู้ครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นทรัพย์สินของรัฐ โดยจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือเป็นนิติบุคคลก็ได้ ถ้าใครเป็นเจ้าของหรือครอบครองที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอยู่ในวันที่ 1 มกราคม ของปีไหน ก็ให้เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีสำหรับปีนั้นไป ถ้าเจ้าของที่ดินและเจ้าของสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินนั้นเป็นคนละคนกัน ก็ให้เจ้าของที่ดินเสียภาษีเฉพาะส่วนของมูลค่าที่ดิน ส่วนเจ้าของสิ่งปลูกสร้างก็เสียภาษีเฉพาะส่วนของมูลค่าสิ่งปลูกสร้าง ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ต้องเสียภาษี ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง เช่น บ้าน อาคาร จะต้องเสียภาษีโดยใช้มูลค่าทั้งหมดของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างเป็นฐานในการคำนวณภาษี โดยแยกตามรายการดังนี้ 1.) ที่ดิน-ใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน 2.) สิ่งปลูกสร้าง-ใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์สิ่งปลูกสร้าง 3.) สิ่งปลูกสร้างที่เป็นห้องชุด (คอนโด)-ใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเป็นผู้ประกาศราคาประเมินทุนทรัพย์ของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง อัตราภาษีที่จัดเก็บ และรายละเอียดอื่นที่จำเป็นในการจัดเก็บภาษีในแต่ละปี ณ สำนักงาน หรือที่ทำการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ของปีนั้น ซึ่งราคาทุนทรัพย์นี้จะเป็นราคาเดียวกับราคาประเมินทุนทรัพย์ของกรมที่ดิน แต่ถ้าไม่มีราคาประเมินทุนทรัพย์ จะมีกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการคำนวณมูลค่า ซึ่งยังขณะนี้ยังรอการประกาศอยู่ อนึ่ง ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะคิดภาษีเฉพาะที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเท่านั้น ไม่คิดจากทรัพย์สินอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นโรงงานก็นำเฉพาะที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาคำนวณภาษีโดยไม่รวมเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ต่างๆ วิธีคำนวณภาษี การคำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะใช้คำนวณแบบขั้นบันไดตามมูลค่าของฐานภาษีแต่ละขั้นโดยใช้สูตรเบื้องต้น คือ มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง – มูลค่าของฐานภาษีที่ได้รับยกเว้น = มูลค่าของบานภาษี มูลค่าของฐานภาษี x อัตราภาษี = ค่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง อนึ่ง กรณีที่ดินหลายแปลงมีอาณาเขตติดต่อกันและเป็นของเจ้าของเดียวกัน ให้คำนวณมูลค่าที่ดินทั้งหมดรวมกันเป็นฐานภาษี การหักมูลค่าของบานภาษีที่ได้รับยกเว้น เป็นสิทธิประโยชน์เฉพาะบุคคลธรรมดาเท่านั้นซึ่งจะได้รับเฉพาะกรณีต่อไปนี้เท่านั้น 1.) ถ้าบุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมได้สิทธิหักมูลค่าฐานภาษีได้ 50 ล้านบาท 2.) ถ้าบุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในวันที่ 1 มกราคมของปีภาษีนั้น ได้สิทธิหักภาษีได้ 50 ล้านบาท 3.) บุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในวันที่ 1 มกราคมของปีภาษีนั้น ได้สิทธิหักมูลค่าฐานภาษีได้ 10 ล้านบาท วิธีเสียภาษี ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใช้วิธีประเมินภาษีโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ประเมินให้ และจะส่งแบบประเมินภาษีให้แก่ผู้เสียภาษีภายในเดือน กุมภาพันธ์ของแต่ละปี และผุ้เสียภาษีต้องชำระภาษีให้แล้วเสร็จภายใน 30 เมษายนของปีนั้น แบบประเมินภาษีจะประกอบด้วย 1.) รายการที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง 2.) ราคาประเมินทุนทรัพย์ 3.) อัตราภาษี 4.) จำนวนภาษีที่ต้องชำระ วันที่ชำระภาษีโดยปกติจะให้เอาตามวันที่พนักงานเก็บภาษีลงลายมือชื่อในใบเสร็จรับเงิน แต่ถ้าชำระโดยวิธีอื่น เช่น ชำระโดยผ่านทางธนาคารให้ถือว่าวันที่ธนาคารได้รับเงินค่าภาษีเป็นวันที่ชำระภาษี อัตราภาษี ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างกำหนดอัตราภาษีจำแนกตามประเภทการใช้ประโยชน์และตัวผู้เสียภาษี ทั้งนี้อัตราภาษีจะใช้คำนวณแบบขั้นบันไดตามมูลค่าของบานภาษีแต่ละขั้น อนึ่ง หากที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างมีการใช้ประโยชน์หลายประเภท ภาษีจะคำนวณตามสัดส่วนของการใช้ประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างแต่ละประเภท 1.) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ต้องเป็นการทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ และกิจการอื่นตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยร่วมกันประกาศกำหนด ซึ่งยังอยู่ระหว่างรอประกาศอีกครั้ง (ก) บุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม อัตราเพดาน 0.15% อัตราที่จัดเก็บ มูลค่า(ล้านบาท.) อัตรา(%) 0 - 75 0.01 75 - 100 0.03 100 - 500 0.05 500 - 1,000 0.07 1,000 ขึ้นไป 0.1 บุคคลธรรมดา ได้รับยกเว้น อปท. ละไม่เกิน 50 ล้านบาท ภาระภาษี มูลค่า(ล้านบาท) ค่าภาษี(บาท) 50 0 100 5,000 200 40,000 2.) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย อัตราเพดาน 0.3% บุคคลธรรมดา มูลค่า(ลบ.) บ้าน บ้าน + ที่ดิน บ้านหลังอื่นๆ (บ้านหลังหลัก) (บ้านหลังหลัก) 0 - 10 ยกเว้นภาษี 10 - 50 0.02 ยกเว้นภาษี 0.02 50 - 75 0.03 0.03 0.03 75 - 100 0.05 0.05 0.05 100 ขึ้นไป 0.1 0.1 0.1 ภาระภาษี มูลค่า(ล้านบาท.) บ้านหลังหลัก บ้านหลังอื่นๆ (ยกเว้น 50 ล้านบาท) 50 0 10,000 100 20,000 30,000 200 120,000 130,000 3.) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่น เช่น ใช้เชิงพาณิชย์ อัตราเพดาน 1.2 % อัตราที่จัดเก็บ มูลค่า(ล้านบาท.) อัตรา(%) 0 - 50 0.3 50 - 200 0.4 200 - 1,000 0.5 1,000 - 5,000 0.6 5,000 ขึ้นไป 0.7 ภาระภาษี มูลค่า(ล้านบาท) ค่าภาษี(บาท) 50 150,000 100 350,000 200 2,250,000 1,000 4,750,000 4.) ที่รกร้างว่างเปล่า อัตราเพดาน 1.2 % อัตราที่จัดเก็บ มูลค่า(ล้านบาท.) อัตรา(%) 0 - 50 0.3 50 - 200 0.4 200 - 1,000 0.5 1,000 - 5,000 0.6 5,000 ขึ้นไป 0.7 ภาระภาษี มูลค่า(ล้านบาท) ค่าภาษี(บาท) 50 150,000 100 350,000 200 2,250,000 1,000 4,750,000 เพิ่มอัตรา 0.3% ทุก 3 ปี แต่อัตราภาษีรวมไม่เกิน 3% บทลงโทษ เบี้ยปรับ !!! คือ ค่าปรับที่เกิดจากการชำระภาษีไม่ครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนด วึ่ง แบ่งกรณีได้ดังนี้ 1.) ไม่ได้ชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด และได้รับหนังสือแจ้งเตือน เสียเบี้ยปรับ 40% ของจำนวนภาษีค้างชำระ 2.) ไม่ได้ชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด แต่ชำระภาษีตามเวลาที่แจ้งไว้ตามหนังสือแจ้งไว้ตามหนังสือแจ้งเตือน เสียดอกเบี้ยปรับ 20% ของจำนวน ภาษีค้างชำระ 3.) ไม่ได้ชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด แต่ชำระภาษีก่อนจะได้รับหนังสือแจ้งเตือน เสียเบี้ยปรับ 10% ของจำนวนภาษีค้างชำระ ภาษีป้าย สิ่งที่ต้องปฏิบัติ - ถ้าท่านเป็นเจ้าของป้ายหรือป้ายอยู่ในความครอบครอง ของท่านให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ภายในเดือน มีนาคมของทุกปี ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงป้ายเดิมหรือติดตั้งป้ายใหม่หลังเดือนมีนาคม จะต้องยื่นแบบแสดงรายการ เสียภาษีป้ายภายในกำหนด 15 วัน - ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ชำระภาษีป้ายภายในกำหนด 15 วัน ที่ได้รับแจ้งการประเมิน - ผู้ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ภายในกำหนดให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 % ของเงินภาษีป้าย - ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายโดยไม่ถูกต้อง ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 % ของภาษีป้ายที่ประเมินเพิ่มเติม - ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือจงใจแจ้งความอันเป็นเท็จให้ถ้อยคำเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดง เพื่อพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีป้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 – 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อัตราภาษีป้าย - ป้ายที่มีอักษรไทยล้วนให้คิดอัตรา 3 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร - ป้ายที่มีอักษรไทยปนอักษรต่างประเทศและหรือปนกับภาพ หรือเครื่องหมายอื่น ให้คิดอัตรา 20 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร - ป้ายดังต่อไปนี้ให้คิดอัตรา 40 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร ก.ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยไม่ว่าจะมีภาพ หรือ เครื่องหมายใด ๆ หรือไม่ ข.ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ - ป้ายที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขตามมาตรา 14(3) ความว่าเปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้ายข้อความ ภาพหรือเครื่องหมายบางส่วน ในป้ายที่ได้เสียภาษีป้ายแล้วอันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น ให้คิดอัตรา ตาม (1) (2) หรือ (3) ป้ายแล้วและให้เสียเฉพาะจำนวนเงินภาษีที่เพิ่มขึ้น - ป้ายตาม (1) (2) (3) เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้วถ้ามีอัตราที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้าย 200 บาท ให้เสียป้ายละ 200 บาท ตารางการชำระภาษีประเภทต่างๆ
ตารางการชำระภาษีประเภทต่างๆ